fbpx

5 คำแนะนำเพื่อปรับปรุงโฆษณา Google Shopping Ads ในปี 2021

หลายแบรนด์ที่เริ่มใช้งาน Google Shopping Ads อาจพบว่าในเวลานี้การแข่งขันเพื่อให้สินค้าตัวเองแสดงผลนั้นเริ่มทำได้ยากขึ้น เนื่องจากแบรนด์ต่าง ๆ เริ่มเข้ามาใช้งาน Shopping Ads มากขึ้น และต่างก็คาดหวังในผลลัพธ์จากการโฆษณา แล้วเราจะทำอย่างไรได้บ้าง เพื่อให้โฆษณาของเรายังคงแสดงผลเข้าถึงลูกค้าที่เราต้องการ

วันนี้ผมได้รวบรวมข้อมูลการปรับปรุงโฆษณา Google Shopping Ads ในปี 2021 มาให้คุณแล้วครับ ซึ่งคำแนะนำเหล่านี้ สามารถใช้งานได้จริงที่หลังร้านของทุกท่านครับ

5 คำแนะนำปรับแต่งโฆษณา Google Shopping Ads ปี 2021

1. การตั้งชื่อหมวดหมู่สินค้า

โดยปกติแล้วหลังจากที่มีการเพิ่มสินค้าเข้าไปยัง Merchant Center ไม่ว่าเพื่อใช้งาน Free Listing หรือ Google Shopping Ads นั้น Google จะมีระบบในการตรวจสอบสินค้าที่เพิ่มเข้ามา หรือที่มีอยู่ในปัจจุบัน ว่าถูกต้องตามนโยบายการลงโฆษณาของทาง Google หรือไม่ นอกจากนี้ทาง Google ยังจัดหมวดหมู่สินค้าทุกรายการให้โดยอัตโนมัติ (Google Product Categories)

แต่สิ่งหนึ่งที่ระบบของ LnwX ส่งข้อมูลไปให้ Google ด้วยเพิ่มเติม นั่นคือ หมวดหมู่ที่ทางร้านกำหนดขึ้นมาเอง (Product Type) ซึ่งข้อมูลนี้มีส่วนในการช่วยให้ Google แสดงผลการค้นหาแม่นยำมากขึ้น แม้เพียงเล็กน้อยแต่ก็เพิ่มโอกาสในการแสดงผลได้ทั้งใน Google Shopping Tab และ Google Shopping Ads

ฉะนั้นแล้ว ทางแบรนด์จึงควรมีการเขียนชื่อหมวดหมู่สินค้าที่เข้าใจง่ายและกระชับ วางเป็นลำดับขั้นมากขึ้น โดยอาจลำดับขั้นตามเพศ ประเภทสินค้า ประเภทย่อย หรือ แบรนด์ของสินค้าก็ได้เช่นเดียวกัน โดยคำแนะนำจากทาง Google นั้น บอกไว้ว่า การมีข้อมูลส่วนนี้อย่างน้อย 3 ลำดับขั้นจะยิ่งช่วยให้การแสดงผลมีประสิทธิภาพที่ดีมากขึ้นด้วย

Trick for sale - ตารางกำหนดหมวดหมู่สินค้า

[ตัวอย่างการกำหนดหมวดหมู่สินค้า]

 

2. ชื่อสินค้า และ รายละเอียดสินค้า

อย่างที่เราได้บอกไปหลาย ๆ ครั้งว่า หนึ่งในส่วนที่สำคัญที่สุดของการใช้บริการ Google Shopping คือ การตั้งชื่อสินค้าที่เหมาะสม จากข้อมูลที่เราได้มาพบว่าเวลาที่ Google ตรวจสอบชื่อสินค้าจะพิจารณาให้ 35 ตัวอักษรแรก เป็นข้อมูลที่สำคัญที่สุดเสมอ ดังนั้นจึงแนะนำให้พยายามนำเอาข้อมูลที่สำคัญของสินค้าไปไว้ด้านหน้า แล้วตามด้วยข้อความอื่น ๆ ต่อท้าย

เช่น โปรโมชั่น หรือ จำนวนในแพ็ค โดยพยายามไม่ให้เกิน 75 ตัวอักษร เพื่อที่จะพอดีกับการแสดงผลของทาง Google เอง

ในขณะเดียวกันในส่วนรายละเอียดสินค้าเองก็ไม่ต่างกัน ทาง Google จะมองว่ารายละเอียดสินค้า 175 ตัวอักษรแรกที่ปรากฏนั้นคือข้อมูลสำคัญของสินค้า เนื่องด้วยเป็นข้อมูลที่จะแสดงให้แก่ลูกค้าใน Google Shopping Tab เห็น เมื่อกดเข้าไปดูที่ตัวสินค้า

ดังนั้นในข้อความแรกของคุณควรมีความเกี่ยวข้องกับสินค้าที่ต้องการขายให้มากที่สุด เพื่อให้เกิดความแม่นยำเกี่ยวกับตัวสินค้า หรือแม้แต่คีย์เวริดที่ผู้เข้าชมอาจค้นหาด้วย

Shopping Ads suggestions 2021

[ตัวอย่าง การแสดงผล Google Shopping Tab]

ในขณะเดียวกัน สำหรับข้อมูลสินค้าอื่น ๆ ไม่ว่าจะเพศ สี น้ำหนัก ขนาด วัสดุ รวมไปถึงรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าก็แบรนด์ก็ควรกรอกให้ครบถ้วน ซึ่งสามารถกรอกไปตามหัวข้อข้อมูลรายละเอียดสินค้าแต่ละชิ้นได้เลย โดยแนะนำให้พยายามใส่ข้อมูลในรายละเอียดสินค้าให้ได้มากที่สุด

* หมายเหตุ : การสแปมข้อความคีย์เวริดเป็นสิ่งที่ทางระบบของ LnwX และ Google ไม่แนะนำให้ทำ เนื่องด้วยเป็นการจงใจที่อาจส่งผลตรงกันข้ามกับที่ทางแบรนด์คาดหวังไว้

 

3. รูปภาพสินค้า

หลาย ๆ แบรนด์อาจพบเจอกับปัญหายอดนิยมเกี่ยวกับรูปภาพสินค้าที่ใช้บริการ Google Shopping นั้นคือปัญหาเกี่ยวกับการมีข้อความในภาพ ลายน้ำ โปรโมชั่น หรือโลโก้ทับบนภาพสินค้า แล้วทำให้ภาพของสินค้าไม่ผ่านเกณฑ์ตามนโยบายของ Google ซึ่งจากข้อมูลล่าสุดเราพบว่า รูปภาพที่ดีควรมีองค์ประกอบดังนี้

  • ภาพความคมชัดสูง
    มีขนาดใหญ่กว่า 250 x 250 Pixel ตามคำแนะนำของ Google แต่ถ้าจะให้ดีควรมีความละเอียดภาพระดับ HD ขึ้นไป (720 x 720 Pixel)
  • พื้นหลังของภาพสินค้าควรเป็นสีเรียบ และเป็นสีที่ค่อนข้างสว่าง
    เช่น เทาอ่อน สีครีม และสีขาว โดยพยายามจัดแสงให้เท่ากัน มองเห็นรายละเอียดของสินค้าได้ชัดเจน
  • ขนาดของสินค้าในภาพ ควรครอบคลุมพื้นที่ 75 – 90 % ของภาพ
    โดยพยายามให้มีตัวอักษร โลโก้ หรือข้อความทับบนภาพสินค้าให้น้อยที่สุด และมีขนาดรวมกันบนภาพไม่เกิน 10 – 20 % ของพื้นที่ภาพ แต่ที่ดีที่สุดคือไม่มีเลยตามที่ Google แนะนำ (ยกเว้นเป็นข้อความที่ติดมากับสินค้าอยู่แล้ว)

 

4. ทำการแบ่งกลุ่มสินค้าให้ดี

กลยุทธ์หนึ่งที่ถูกนิยมใช้ทั่วโลกในการจัดการแคมเปญโฆษณาของตัวเอง คือ การแบ่งกลุ่มสินค้า (Segment) ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น แบ่งตามประเภทสินค้า หมวดหมู่สินค้า เพศ หรือยอดขายของสินค้า ทั้งนี้เรามีคำแนะนำในการจัดการ 3 วิธีด้วยกัน

วิธีที่ 1 ลงโฆษณาสินค้าทั้งร้าน 1 แคมเปญ

หากสินค้าของคุณไม่ได้มีความหลากหลายมากนัก เช่น เป็นสินค้าประเภทเดียวกัน, สินค้าหมวดหมู่เดียวกัน หรือสินค้าที่มีจำนวนไม่มากนัก (ไม่เกิน 50 รายการ) การลงโฆษณาสินค้าทั้งหมดในร้านเพียง 1 แคมเปญจะทำให้ทางร้านจัดการได้ง่ายขึ้น และ Google จะมองว่าสินค้าทั้งหมดมีความสำคัญเท่ากันสำหรับธุรกิจของคุณ

  • ข้อดี
    • จัดการง่าย
    • สินค้าทุกรายการมีความสำคัญเท่ากันหมด
  • ข้อเสีย
    • มีโอกาสที่สินค้าบางรายการที่ประสิทธิภาพการโฆษณาไม่ดี จะไม่แสดงผลอีก

วิธีที่ 2 ลงโฆษณาสินค้ามากกว่า 1 แคมเปญด้วยสินค้าที่แตกต่างกัน

ถ้าสินค้าของคุณมีหลายหมวดหมู่ แต่ละหมวดหมู่เองก็มีสินค้าหลายรายการ และยังกลุ่มเป้าหมายก็ต่างกัน เช่นนั้นเราแนะนำให้คุณทำการแบ่งกลุ่มสินค้า (Segment) โดยอาจเลือกวิธีการแบ่งกลุ่มต่าง ๆ เพื่อแบ่งสินค้าไปในแต่ละแคมเปญโฆษณา เช่น สินค้าขายดี กับสินค้าที่เหลือ วิธีนี้จะทำให้คุณมีอิสระในการควบคุมงบประมาณโฆษณาได้มากขึ้น

  • ข้อดี
    • สามารถจัดลำดับความสำคัญของสินค้าได้
    • สามารถควบคุมงบประมาณสำหรับสินค้ากลุ่มหนึ่ง ๆ ได้ เช่นใช้งบประมาณ 80% ไปกับสินค้าขายดี และ 20% สำหรับสินค้าที่เหลือ
  • ข้อเสีย
    • อาจมีขั้นตอนยุ่งยากในการแบ่งกลุ่มสินค้า
    • จำเป็นต้องคอยตรวจดูผลลัพธ์ในแต่ละแคมเปญเพื่อปรับปรุงเพิ่มเติม

วิธีที่ 3 ลงโฆษณาสินค้า 1 ชิ้น/แคมเปญ

หากคุณต้องการโฆษณาสินค้าเพียงบางรายการ โดยที่แต่ละรายการมีงบประมาณของตัวเอง คุณอาจเลือกลงโฆษณาสินค้าเพียงแค่ 1 รายการต่อแคมเปญ เพื่อควบคุมงบประมาณสูงสุดได้เช่นเดียวกัน ซึ่งมีหลายร้านค้าที่ทำในลักษณะนี้ แต่มีข้อระมัดระวังคือ หากเป็นการลงโฆษณาในระยะเวลาสั้น ๆ (1 – 60 วัน) ผลลัพธ์ที่ได้อาจไม่ค่อยดีนัก

  • ข้อดี
    • สามารถควบคุมงบประมาณ หรือราคาต่อคลิก (Standard Campaign) สำหรับสินค้าชิ้นนั้นได้
    • มีสินค้าเพียงชิ้นเดียวที่ให้ความสำคัญ
  • ข้อเสีย
    • แคมเปญอาจใช้งบประมาณไม่ตรงตามที่กำหนดไว้
    • ในกรณีที่ราคาต่อคลิกสูงไม่มากพอ อาจทำให้อัตราการคลิกลดลง
    • หากข้อมูลรายละเอียดสินค้ามีน้อย จะทำให้โอกาสในการแสดงผลลดลง

 

5. ให้ความสำคัญกับคำแนะนำที่ Google มอบให้

หากคุณพบคำแนะนำเพิ่มเติมที่สินค้าแต่ละชิ้น ทางเราแนะนำให้พยายามทำตามคำแนะนำเหล่านั้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแสดงผลของสินค้าชิ้นนั้นในแคมเปญของคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากสิ่งนั้นเป็นข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น ควรรีบดำเนินการแก้ไขภายใน 30 วัน เพื่อให้สินค้ายังสามารถแสดงผลต่อไปได้ หากไม่แน่ใจว่าส่วนไหนสามารถติดต่อทางเราเพื่อช่วยเหลือได้เลยนะครับ


และนี่เป็นส่วนหนึ่งในคำแนะนำจำนวนมากที่เรารวบรวมมาในปี 2021 ทั้งจากทาง Google เอง จากการทดสอบของทาง LnwX และผู้ลงโฆษณารายอื่น ๆ มาตลอดปี ซึ่งยังมีคำแนะนำอีกมากที่ยังมีอีก เพียงแต่ว่ายังไม่มีการอัพเดทในประเทศไทยว่ามีผลต่อการแสดงผลหรือไม่ ซึ่งทางเราจะคอยติดตามและอัพเดทให้ทุกท่านได้รู้อีกแน่นอนครับ

ที่มา:

สวัสดีค่ะ LnwX Blog ขออนุญาตเก็บ Cookie ของคุณนะคะ Cookie ที่เราเก็บมีไว้เพื่อการพัฒนาปรับปรุงบทความต่าง ๆ ในบล็อกของเรา เพื่อให้เป็นบล็อกที่ตรงกับความต้องการของคุณมากขึ้น รวมถึงเราจะมีการใช้เพื่อทำการตลาดในการนำเสนอเนื้อหาที่คุณน่าจะสนใจให้กับคุณ หากคุณอยากให้เรานำเสนอข้อมูลที่ถูกใจคุณ รบกวนกด "ยินยอม" ให้เราได้เก็บข้อมูลด้วยนะคะ ทาง LnwX Blog ต้องขอบคุณที่คุณอนุญาตให้เราเก็บ Cookie ด้วยค่ะ แต่หากคุณไม่ต้องการให้เราเก็บข้อมูลก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้ที่ ตั้งค่า นะคะ และคุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว ค่ะ

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็นค่ะ

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • GoogleAnalytics

    คุ้กกี้นี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาเว็บไซต์ หากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุ้กกี้นี้เราจะไม่สามารถวัดผลและปรับปรุงเว็บไซต์ได้

  • Facebook Pixel

    คุ้กกี้นี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง พัฒนาเว็บไซต์ และเก็บข้อมูลเพื่อการโฆษณา หากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุ้กกี้นี้เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงเว็บไซต์ รวมถึงการปรับปรุงพัฒนาโฆษณาของเราได้

Save